ksy-logo
tired-man-sleeping-on-the-table-image
Designed by Freepik

6 สัญญาณของภาวะขาดโปรตีน

โปรตีน เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างเซลล์ใหม่ และเสริมสร้างกล้ามเนื้อ หากร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ อาจส่งผลต่อสุขภาพในหลายด้าน และก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ ได้ ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจถึง 6 สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณอาจกำลังขาดโปรตีนกัน

1. สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ

โปรตีนเป็นส่วนประกอบหลักของกล้ามเนื้อ การขาดโปรตีนจึงทำให้กล้ามเนื้อเสื่อมสลายลงเรื่อยๆ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแรง เหนื่อยง่าย และอาจมีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวัน

2. บวมน้ำ (Edema)

เมื่อร่างกายขาดโปรตีน อาจส่งผลให้เกิดภาวะบวมน้ำได้ เนื่องจากโปรตีนมีหน้าที่ช่วยรักษาน้ำในหลอดเลือด หากโปรตีนในเลือดต่ำ น้ำจะรั่วออกมาสู่เนื้อเยื่อ ทำให้เกิดอาการบวม โดยเฉพาะบริเวณเท้า ขา หรือท้อง

3. เส้นผม เล็บ และผิวหนังเกิดอาการผิดปกติ

โปรตีนเป็นส่วนประกอบสำคัญของเส้นผม เล็บ และผิวหนัง การขาดโปรตีนจึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น ผมร่วง ผมบาง ผมขาดง่าย เล็บเปราะ เล็บแตก ผิวแห้งกร้าน ผิวลอก และแผลหายช้า

4. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย

โปรตีนมีความสำคัญต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งมีหน้าที่ในการลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อขาดโปรตีน เซลล์เม็ดเลือดแดงจะลดลง ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และขาดความกระฉับกระเฉง

5. ป่วยบ่อย

โปรตีนมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน หากร่างกายขาดโปรตีน ระบบภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอลง ทำให้ร่างกายต้านทานต่อโรคติดเชื้อได้น้อยลง จึงทำให้ป่วยบ่อยขึ้น

6. หิวบ่อย

แม้ว่าจะรับประทานอาหารไปแล้ว แต่หากร่างกายขาดโปรตีน ก็อาจรู้สึกหิวบ่อยได้ เนื่องจากโปรตีนช่วยให้รู้สึกอิ่มนาน ทำให้ไม่รู้สึกหิวบ่อยๆ แต่เมื่อขาดโปรตีน ร่างกายจะพยายามส่งสัญญาณให้เราต้องการอาหารอยู่ตลอดเวลา

starving-woman-need-some-food-image
Designed by Freepik

แล้วควรรับประทานโปรตีนเท่าไรเพื่อป้องกันภาวะขาดโปรตีน

โดยปกติแล้ว ปริมาณความต้องการโปรตีนของแต่ละคนจะมีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น อายุ น้ำหนักตัว มวลกล้ามเนื้อ และพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน

ในเบื้องต้น อาจจะคำนวณปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับในแต่ละวันอย่างคร่าว ๆ จากน้ำหนักตัว โดยการรับประทานโปรตีนให้ได้ในปริมาณ 0.8–1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น หากมีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ก็ควรจะรับประทานโปรตีนให้ได้ประมาณ 40–50 กรัมต่อวัน

แต่คนที่ต้องการเพิ่มกล้ามเนื้อหรือนักกีฬา อาจจะต้องรับประทานเพิ่มเป็น 2–3 เท่า เช่น หากมีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ปริมาณการรับประทานโปรตีนก็จะอยู่ที่ประมาณ 100–150 กรัม

หากพบว่าตนเองหรือบุตรหลานมีความเป็นไปได้ว่าอาจกำลังมีภาวะขาดโปรตีนอยู่ ให้หาเวลาไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ตรวจร่างกายและแนะนำแนวทางในการปฏิบัติตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ

และหากคุณกำลังมองหาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มโปรตีน เราขอแนะนำเลือกทานนมโปรตีนถั่วเหลือง ซื้อเลย